Repsol จะบอกให้ บทที่ 3 ค่าอุณหภูมิ และ ความหนืด
Repsol เราคือ น้ำมันเครื่องแชมป์โลก 7 สมัย
ต่อจากบทความที่แล้ว เราจะมาพูดถึง"ค่าความหนืด" กันตามที่หลายๆท่านสงสัย ว่าค่าความหนืดนั้นคืออะไร ดูยังไง? และจะรู้ได้อย่างไรรถรุ่นไหนควรใช้ความหนืดเท่าไร? เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
(ย้อนอ่านบทความ บทที่ 2 ค่าAPI และ ค่าJASO คืออะไร? คลิกที่นี่)
โดยค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องนั้นมีหลายๆสถาบันวิจัย วัดค่าความหนืด และทำออกมาเป็นมาตรฐานตามชื่อเรียกของสถาบันต่างๆ เช่น
API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE
SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS
ฯลฯ
โดยเบอร์น้ำมันเครื่อง (เบอร์ 0 – 60) การวัดค่าความหนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า เบอร์ของน้ำมันเครื่อง (Number)เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ
ยกตัวอย่างเช่น 5W40
5W : หมายถึง ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในอุณหภูมิที่ติดลบหรืออุณหภูมิที่เย็นจัด ซึ่งน้ำมันเครื่องตัวนี้มีค่าความหนืดอยู่ในเกรดที่ 5
40 : หมายถึง ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในอุณหภูมิ 100 องศา ซึ่งน้ำมันเครื่องตัวนี้มีค่าความหนืดอยู่ในเกรดที่ 40
ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว ในเมืองไทยตัวเลขข้างหน้าจะไม่ค่อยมีผลมากนัก เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อนควรดูเฉพาะค่าหลังเป็นสำคัญ
แล้วจะรู้ได้อย่างไรรถรุ่นไหนควรใช้ความหนืดเท่าไร?
ซึ่งปกติแล้วการเลือกน้ำมันเครื่องของรถแต่ละคันนั้นให้อิงตามคู่มือที่ติดมากับตัวรถจึงแนะนำว่าให้เติมตามคู่มือแนะนำรถจะดีกว่า แต่ถ้าเกิดเมื่อใช้รถมานาน เครื่องยนต์มีอายุมากขึ้นและกินน้ำมัน ควรมีการปรับเบอร์ขึ้นไป เช่นจากที่เคยใช้ 5W30 ควรเปลี่ยนเป็น 5W40 เพื่อป้องกันการรั่วของกำลังอัด แต่ถ้ารถอยู่ในสภาพปกติไม่ร้อน ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดน้อยๆเพื่อที่ตัวน้ำมันเครื่องจะได้สามารถไหลผ่านไปได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดน้อยเกินไป ซึ่งนั่นจะส่งผลให้ไม่มีฟิลม์ไปเคลือบชิ้นส่วนโลหะภายใน ทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าที่ควรนั่นเอง